การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทฯ ให้ความสำคัญของการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างให้บริษัทฯ มีระบบการ บริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริษัทฯ มีการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี ของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดการดำเนินการในปี 2550 ดังต่อไปนี้


1. นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการมีบรรษัทภิบาลที่ดี เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนและสาธารณชนได้รับทราบและ ตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการขึ้น โดยครอบคลุม เรื่องโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใสในการดำเนิน กิจการ.

2. สิทธิของผู้ถือหุ้นและการประชุมผู้ถือหุ้น

ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมข้อมูลประกอบการประชุมและความเห็น ของคณะกรรมการประกอบตามวาระต่าง ๆ ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้ถือหุ้น มีเวลาเพียงพอในการศึกษาสารสนเทศในหนังสือเชิญประชุมก่อนวันประชุม

เมื่อถึงวันประชุม ประธานที่ประชุมได้จัดสรรเวลาในการพิจารณาแต่ละวาระอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้นทุกรายสอบถามและแสดงความคิดเห็นในแต่ละวาระและก่อนปิดการประชุม รวมทั้งได้บันทึกประเด็นซักถามและ ข้อคิดเห็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุมอย่างถูกต้องครบถ้วน สามารถตรวจสอบได้

3. สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม

4. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์

คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบแผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปีของบริษัทฯ ตลอดจน ติดตามการดำเนินการตามแผนธุรกิจและงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ

คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาการกำหนดและแบ่งแยกบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารไว้อย่างชัดเจน

5. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

คณะกรรมการได้ดูแลอย่างรอบคอบเมื่อเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยได้พิจารณาความ เหมาะสมอย่างรอบคอบ รวมทั้งได้เปิดเผยสารสนเทศเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างครบถ้วน

6. จริยธรรมธุรกิจ

บริษัทฯ ได้จัดทำข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ตามภารกิจของบริษัทฯ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม ตั้งแต่กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน

7. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

ณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2551 มีจำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย

  • กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 4 ท่าน
  • กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 2 ท่าน
  • กรรมการที่เป็นอิสระ 3 ท่าน

คิดเป็นร้อยละ 33.33 ของกรรมการทั้งคณะ

8. การรวมหรือแยกตำแหน่ง

กรรมการอิสระตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับฝ่ายบริหาร และไม่เป็นบุคคล เดียวกันกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบายกำกับ ดูแลและการบริหารงานประจำ

9. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

บริษัทฯ ได้กำหนดค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยค่าตอบแทนอยู่ในระดับสูงเพียง พอที่จะดึงดูดและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ และได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว กรรมการที่ได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมายเพิ่มมากขึ้น

10. การประชุมคณะกรรมการ

คณะกรรมการมีกำหนดประชุมอย่างต่ำทุก 3 เดือนและมีการประชุมเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระ ชัดเจน ล่วงหน้า และมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ ฝ่ายเลขานุการบริษัทได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารก่อนการประชุมล่วงหน้า เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่าง เพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม และมีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร จัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการ รับรองจากประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการ พร้อมให้คณะกรรมการและผู้ที่ เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ ซึ่งในระหว่างปี 2550 มีกรรมการออกก่อนถึงคราวออกตามวาระจำนวน 5 ท่าน โดยในปี 2550 ที่ผ่านมา คณะกรรมการมีการประชุมรวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง

11. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อระบบควบคุมภายใน จึงได้กำหนดอำนาจดำเนินการของผู้บริหารไว้เป็น ลาย ลักษณ์อักษร มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์ และมีการแบ่งแยกหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ติดตามควบคุมและประเมินผลออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม

บริษัทฯ มีสำนักงานตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ได้ ดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและเพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบภายในมีความเป็น อิสระสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ คณะกรรมการจึงกำหนดให้สำนักงานตรวจสอบภายในรายงาน ผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

12. รายงานของคณะกรรมการ

คณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงิน ที่ปรากฏในรายงานประจำปี งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้ นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผย ข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

คณะกรรมการได้จัดให้มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมี เหตุผลว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และเพื่อให้ทราบ จุดอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ

ในการนี้ คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเป็น ผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายในของบริษัท

13. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

คณะกรรมการตระหนักดีว่าข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ล้วนมีผลต่อ กระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ จึงได้ให้นโยบายแก่ฝ่ายบริหารในการดำเนินการเรื่องที่ เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง และทันเวลา ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญและ ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด ในส่วนของงานด้านผู้ลงทุนสัมพันธ์นั้น บริษัทฯ ยังไม่จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเฉพาะ เนื่องจาก กิจกรรมในเรื่องดังกล่าวยังไม่มากนัก ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนต้องการสอบถามข้อมูลบริษัทฯ สามารถติดต่อได้ที่โทร.0-2736- 3535 ต่อ 3213 หรือที่ e-mail address: pornchaik@iec.co.th

14. การประเมินระบบการควบคุมภายใน

ในการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเข้า ร่วมประชุมด้วย คณะกรรมการได้พิจารณาและประเมินระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ ในด้านต่างๆ 5 ส่วน คือ องค์กร และสภาพแวดล้อม การบริหารความเสี่ยง การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูล และระบบการติดตาม โดยการซักถามข้อมูลจากฝ่ายบริหาร แล้วเห็นว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในอย่าง เพียงพอแล้ว